RSS

Model : Knowledge Mangement

ปลาทูโมเดล (TUNA MODEL)

ประพนธ์ ผาสุขยืด (2550 : 21-26) เปรียบการจัดการความรู้ว่า เหมือนกับปลาทูตัวหนึ่ง ซึ่งมี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง
ส่วนที่ 1 ส่วนหัว เรียกว่า "KV" (Knowledge Vision) หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้
ส่วนที่ 2 ส่วนตัว เรียกว่า "KS" (Knowledge Sharing) ซึ่งเป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM
ส่วนที่ 3 ส่วนหางปลา เรียกว่า "KA" (Knowledge Assets) หมายถึง ตัวเนื้อความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้"


บุคคลที่ดำเนินการจัดการความรู้ บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการความรู้นั้น มีดังนี้  
  1. ผู้บริหารสูงสุด (CEO) องค์กรใดที่ผู้บริหารสูงสุดเห็นคุณค่า และความสำคัญของการ
    จัดการความรู้ องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้อย่างแน่นอน
  2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer, CKO) การริเริ่มการเรียนรู้ที่แท้จริงจะอยู่ที่คุณเอื้อ โดยคุณเอื้อต้องมีหน้าที่นำหัวปลาไปเสนอให้กับผู้บริหารสูงสุด จนยอมรับหลักการ หลังจากนั้นก็ดำเนินการร่วมกับบุคคลอื่น คอยเชื่อมโยงหัวปลา เข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ขององค์กร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ จัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมทั้งคอยเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
  3. คุณอำนวย (Knowkedge Facilitator, KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ เป็นคนจุดประกายความคิดและเป็นนักเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (คุณกิจ) กับผู้บริหาร (คุณเอื้อ), ผู้ปฏิบัติต่างกลุ่มในองค์กร และเชื่อมโยงการจัดความรู้ภายในกับภายนอกองค์กรอีกด้วย โดยอาจจัดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดตลาดนัดความรู้, จัดการดูงาน, จัดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
  4. คุณกิจ (Knowledge Practitioner, KP) เป็นผู้ปฏิบัติงานและดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ร้อยละ 90 - 95 และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุ