RSS

Model : Knowledge Mangement

ปลาทูโมเดล (TUNA MODEL)

ประพนธ์ ผาสุขยืด (2550 : 21-26) เปรียบการจัดการความรู้ว่า เหมือนกับปลาทูตัวหนึ่ง ซึ่งมี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง
ส่วนที่ 1 ส่วนหัว เรียกว่า "KV" (Knowledge Vision) หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้
ส่วนที่ 2 ส่วนตัว เรียกว่า "KS" (Knowledge Sharing) ซึ่งเป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM
ส่วนที่ 3 ส่วนหางปลา เรียกว่า "KA" (Knowledge Assets) หมายถึง ตัวเนื้อความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้"


บุคคลที่ดำเนินการจัดการความรู้ บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการความรู้นั้น มีดังนี้  
  1. ผู้บริหารสูงสุด (CEO) องค์กรใดที่ผู้บริหารสูงสุดเห็นคุณค่า และความสำคัญของการ
    จัดการความรู้ องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้อย่างแน่นอน
  2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer, CKO) การริเริ่มการเรียนรู้ที่แท้จริงจะอยู่ที่คุณเอื้อ โดยคุณเอื้อต้องมีหน้าที่นำหัวปลาไปเสนอให้กับผู้บริหารสูงสุด จนยอมรับหลักการ หลังจากนั้นก็ดำเนินการร่วมกับบุคคลอื่น คอยเชื่อมโยงหัวปลา เข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ขององค์กร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ จัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมทั้งคอยเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
  3. คุณอำนวย (Knowkedge Facilitator, KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ เป็นคนจุดประกายความคิดและเป็นนักเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (คุณกิจ) กับผู้บริหาร (คุณเอื้อ), ผู้ปฏิบัติต่างกลุ่มในองค์กร และเชื่อมโยงการจัดความรู้ภายในกับภายนอกองค์กรอีกด้วย โดยอาจจัดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดตลาดนัดความรู้, จัดการดูงาน, จัดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
  4. คุณกิจ (Knowledge Practitioner, KP) เป็นผู้ปฏิบัติงานและดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ร้อยละ 90 - 95 และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุ


เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ KM

คำศัพท์ Knowledge Mangement น่ารู้
phrenology10.jpg
1. KM
คำเต็ม:  Knowledge Management
ความหมาย :การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือ เอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

2. Tacit Knowledge
คำเต็ม: Tacit Knowledge
ความหมาย :ความรู้ซ่อนเร้นเป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา

3. Explicit Knowledge
คำเต็ม: Explicit Knowledge
ความหมาย :ความรู้ที่มีอยู่อย่างเด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน 


4. CoP
คำเต็ม: Community of Practice
ความหมาย :ชุมชนแนวปฏิบัติ กลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อแลกเปลี่ยนและใช้ความรู้ร่วมกัน หรือเพื่อทำงานร่วมกัน

5.  KA
คำเต็ม: Knowledge asset
ความหมาย : การนำผลสำเร็จของการทำงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แล้วถอดความรู้ออกมาเรียบเรียงและบันทึกไว้เป็นขุมความรู้

6.  KS
คำเต็ม: Knowledge Sharing
ความหมาย :โมเดลปลาทูส่วนกลางลำตัวปลาทู เป็นหัวใจสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

7. KV
คำเต็ม: Knowledge Vision
ความหมาย :โมเดลปลาทู ส่วน หัวปลาหมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้

8.  KF
คำเต็ม: Knowledge Facilitator
ความหมาย : เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ เป็นนักจุดประกายความคิด และการเป็นนักเชื่อมโยง

9. Knowledge Capture
คำเต็ม: Knowledge Capture
ความหมาย : 
การจับใจความหรือการดูดซับความรู้ที่มีอยู่ภายในองค์กร ออกมาเป็นความรู้เป็นส่วนย่อยๆ เพื่อที่จะนำไปสังเคราะห์เป็นขุมความรู้และแก่นความรู้ต่อไป

10. Knowledge Practitioner
คำเต็ม: Knowledge Practitioner
ความหมาย : 
ผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการเรียนรู้ (คุณกิจเป็นผู้ที่ค้นหาความรู้เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกัน นำเอาผลงานที่เป็นขุมความรู้ และแก่นความรู้ของแต่ละหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทำให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้ขึ้นในองค์กร

11. LO
คำเต็ม: Learning Organization
ความหมาย :องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่สามารถเรียนรู้สร้างองค์ความรู้เพื่อ เพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินงานขององค์กรไปสู่เป้า หมาย

12. Weblog
คำเต็ม: Weblog
ความหมาย :เป็น เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เพื่อบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ และแลกกันอ่าน อีกทั้งสามารถแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

13. Best  Practice
คำเต็ม: Best  Practice
ความหมาย : แหล่งความรู้ที่เป็นความรู้ดีเลิศในองค์กรหรือ วิธีการทำงานที่เป็นเลิศในองค์กร (ซึ่งผู้จัดการความรู้ต้องเสาะแสวงหาแหล่งดังกล่าว ให้พบแล้วจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ เช่น กิจกรรมศึกษาดูงาน หรือหาวิธีเรียนลัดไปสู่ความเป็นเลิศให้ได้)

14. OD
คำเต็ม: Organization Development
ความหมาย : 
องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการประสานงานจัดการความรู้ โดยจัดให้มีทีมงานจัดการความรู้อย่างเป็นระบบทั้งองค์กร

15. Classification
คำเต็ม: Classification
ความหมาย :การนำความรู้ที่ได้มาเขียนอธิบาย(Explicit)เพื่อเผยแพร่ สู่องค์กร โดยแบ่งกลุ่มความรู้อย่างชัดเจน และกระจายความรู้ถูกกลุ่มเป้าหมาย(From Individual to Organization Knowledge) อันนี้จะเป็นตำราที่สอดคล้องกับเนื้อหา เขียนแบบง่ายๆ และนำไปใช้ได้ในการจัดการเรียนรู้

16. PDCA
คำเต็ม: Plan Do Check Act
ความหมาย : เป็นกระบวนการทำงานที่มีลำดับขั้นตอนการวางแผนการทำงาน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการประเมินผล

17.  AAR
คำเต็ม: After Action Review
ความหมาย : เป็นการเปิดใจและการเรียนรู้หลังการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเสร็จสิ้นลง เพื่อทบทวนบทเรียน ชื่นชมความสำเร็จและหาแนวทางพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น